วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การดูแลควายไทย

ประโยชน์ควายไทย

ประวัติควายไทย

 


ลักษณะควายไทย

 


                                           
 



ควายไทย

                             ประวัติควายไทย
คำว่า "ควาย" นั้นมีความหมายทั้งนัยตรงและความหมายเชิงเปรียบเทียบ "ควาย" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณ
บัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้เป็นสองอย่างคือ อย่างแรก หมายถึง สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์กีบคู่
รูปร่างใหญ่ สีดำหรือสีเทา เขาโค้ง ใต้คางและหน้าอกมีขนขาว และความหมายที่สอง หมายถึง คนโง่ เซ่อ หรือ
คนตัวใหญ่แต่ไม่ฉลาด คนมักพูดกันถึงความหมายในแบบที่สอง ซึ่งจะใช้พูดเปรียบเทียบถึงความโง่เง่า หรือ
ความไม่ดี มากกว่าการพูดถึงตัวสัตว์ที่เป็นควายจริง ๆ แต่คำว่า "ควาย" ก็เป็นคำไทยแท้ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่
ที่เปรียบเทียบก็มักจะใช้คำว่าควายทั้งนั้น เช่น สีซอให้ควายฟัง, ความวัวยังไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก, อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้น
ควายให้ลูกท่านเล่น, เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน เป็นต้น ส่วนคำว่า "กระบือ" ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความถึงโง่ เซ่อ กระบือ จะเป็น
คำที่ใช้ในลักษณะเป็นทางการมากกว่าการพูดกันทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่า "ควาย" เป็นคำที่ไม่สุภาพซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้กันทั้งสองคำ ขึ้น
อยู่กับผู้ใช้ว่าจะถนัดใช้คำว่า ควายหรือกระบือ นอกจากนี้ยังมีคำว่า "เจ้าทุย" หรือ "ไอ้ทุย" ซึ่งก็หมายถึงควายเช่นกัน แต่คำว่า "ควายทุย" ในบางท้อง
ถิ่นจะหมายถึงควายที่มีลักษณะเขาสั้น ในประเทศเพื่อนบ้านเราและแถบประเทศอาเซียนก็จะมีชื่อเรียกต่างกันเช่น ประเทศกัมพูชา หรือชาวเขมรจะ
เรียกว่า กระบาย ประเทศมาเลเซีย จะเรียกว่า กระบาว (Krabau) และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้ภาษาตากาล็อก เรียกว่า คาราบาว (Carabao)
                                     http://202.143.132.40/m5-2554/tanyamai/page28.html